Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

บรรยายสรุปจังหวัดบึงกาฬ
---------------------------

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดบึงกาฬ

     พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2544 ตราพระราชบัญญัติขึ้นเนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554
     การขอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬเป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เนื่องจากจังหวัดหนองคายมีระยะทางยาวจากเหนือจรดใต้ ประมาณ 330.6 กิโลเมตร ราษฎรที่อาศัยอยู่อำเภอบึงโขงหลง ซึ่งเป็นอำเภอที่ไกลที่สุดต้องเดินทางมาติดต่อราชการระยะทางถึง 238 กิดลเมตร การเดินทางไปกลับทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารราชการและการแก้ไขปัญหาด้านชายแดนไม่สะดวกและไม่ทั่วถึง เมื่อจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬแล้วจะย่นระยะทางได้ถึง 102 กิโลเมตร ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของประชาชน ทั้งนี้ การบริหารราชการลงไปแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น     

สภาพภูมิศาสตร์
     1. ที่ตั้งและขนาด จังหวัดบึงกาฬมีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 751 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งจังหวัด 4‚305.746 ตารางกิโลเมตร

     2. อาณาเขต จังหวัดบึงกาฬมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองกับจังหวัดข้างเคียงและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนี้

     ทิศเหนือ      ติดกับแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
     ทิศตะวันออก      ติดกับอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
     ทิศใต้      ติดกับอำเภอคำตากล้า อำเภอบ้านม่วง และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
     ทิศตะวันตก      ติดกับอำเภอรัตนวาปี และอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

ลักษณะภูมิประเทศ
     ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดบึงกาฬ โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง แยกได้เป็น 3 บริเวณ คือ
          1. พื้นที่เป็นคลื่นลอนลาด กระจายอยู่ทุกอำเภอเป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ทำนาเป็นส่วนใหญ่และปลูกพืชไร่ พืชสวน และป่าธรรมชาติ
          2. พื้นที่เป็นคลื่นลอนชันและเป็นเขาเป็นป่าธรรมชาติ เช่น ป่าไม้เต็งรัง ป่าเบญจพรรณ พบในเขตอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล อำเภอบุ่งคล้า และอำเภอพรเจริญ
          3. สภาพพื้นที่เป็นภูเขา มีความสูงชันจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป เป็นบริเวณเทือกเขาต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองศรีวิไล อำเภอบุ่งคล้า อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง

สภาพภูมิอากาศ
     มีลักษณะอากาศจัดอยู่ในจำพวกฝนแถบร้อนและแห้งแล้ง (ธันวาคม – มกราคม) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะเริ่มลดในเดือนพฤศจิกายนและต่ำสุดในเดือนช่วงธันวาคมถึงเดือนมกราคม ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูเปลี่ยนมรสุมเหนือ อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนมีนาคมและร้อนจัดในเดือนเมษายน ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (มิถุนายน – กรกฎาคม) อุณหภูมิโดยทั่วไปจะลดลงในเดือนตุลาคมเป็นฤดูเปลี่ยนมรสุมใต้ อุณหภูมิจะเริ่มลดลงจนอากาศหนาวเย็น

การปกครอง 
     จังหวัดบึงกาฬแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 615 หมู่บ้าน 18 เทศบาลตำบล 41 องค์การบริหารส่วนตำบล และ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดย 8 อำเภอ มีดังนี้

     1. อำเภอเมืองบึงกาฬ      5. อำเภอปากคาด
     2. อำเภอเซกา      6. อำเภอบึงโขงหลง
     3. อำเภอโซ่พิสัย      7. อำเภอศรีวิไล
     4. อำเภอพรเจริญ      8. อำเภอบุ่งคล้า

ประชากร
     จังหวัดบึงกาฬมีประชากรจำนวน 421‚325 คน แบ่งเป็นชาย 212‚432 คน เป็นหญิงจำนวน 209‚193 คน  อำเภอเซกาเป็นอำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด และอำเภอปากคาดเป็นอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่มากที่สุด

ต้นไม้ประจำจังหวัด:    สิรินธรวัลลี
คำขวัญประจำจังหวัด
ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง

  

ขอบคุณภาพจาก : Touronthai.com   :  เพจบึงกาฬพาเลาะ   

แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ

ขอบคุณภาพจาก : www.buengkan.com


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 76,210